เกจวัดแรงดัน คือ เครื่องมือวัดความดันสำหรับอ่านค่าวัดแรงดันในระบบ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องควบคุมแรงดัน นิยมเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมและครัวเรือน โดยเกจวัดแรงดัน จะแสดงผลออกมาทางหน้าปัด เพื่อให้ผู้ใช้ทราบค่าแรงดันที่อยู่ ณ จุดตรวจวัด โดยมีหน่วยแรงดันแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความถนัด ความละเอียดของแรงดันที่ต้องการ หรือตามมาตรฐานที่ได้ถูกกำหนดไว้
Pressure Gauge หมายถึง เกจวัดความดัน หรือ เกจวัดแรงดัน
เกจวัดแรงดันมีหน่วยแรงดันอะไรบ้าง ?
หน่วยวัดแรงดันของเกจวัดแรงดันมีอยู่มากมาย แต่ปัจจุบันที่นิยมและเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ bar, kg/cm2, psi, mmHg โดยหน่วย bar และ kg/cm2 นั้นมีค่าที่ใกล้เคียงกัน โดย 1 kg/cm2 = 0.980665 bar ผู้ใช้จึงมักจะประมาณอย่างง่ายว่า 1 bar = 1 kg/cm2 ส่วนหน่วย psi ก็นิยมนำมาอ่านค่าไม่แพ้กัน โดย 1 bar = 14.5 psi นอกจากนี้ยังมีหน่วยแรงดันอื่น ๆ ที่ยังพบได้ทั่วไปอย่าง mbar และ Pa(Pascal) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้
ประเภทเกจวัดแรงดัน
ปัจจุบันมีการแบ่งประเภทเกจวัดแรงดันตามย่านการวัด 3 ประเภท ได้แก่
- เกจวัดแรงดัน(Pressure Gauge): เกจที่มีย่านการวัดตั้งแต่ 0-1 bar ขึ้นไป เช่น 0-10 bar, 0-100 bar, 0-600 bar เป็นต้น
- เกจวัดแรงดูด(Vacuum Gauge): เกจวัดแรงดูดหรือแวคคั่มเกจ ใช้วัดแรงดูดตั้งแต่ -1 ถึง 0 bar หรืออีกหน่วยที่นิยมคือ mmHg นั่นเอง
- คอมปาวด์เกจ(Compound Gauge): คอมปาวด์เกจ เป็นเกจวัดแบบผสม วัดแรงดูดและแรงดันในตัวเดียวกัน เช่น -1 to 3 bar, -1 to 5 bar และ -1 to 9 bar
หลักการทำงานของ Pressure Gauge
เกจวัดแรงดันมีการทำงานอยู่ทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่
Bourdon ท่อบูร์ดอง
อาศัยหลักการยืดหดของท่อบูร์ดอง เมื่อเกิดแรงดัน ตัวบูร์ดองที่ติดกับเข็มบ่งชี้(Pointer) จะเกิดการยืดหรือหด ทำให้เข็มชี้ขยับตามแรงดันที่เกิดขึ้น ในบางครั้งอาจเรียกเกจที่ทำงานแบบนี้ว่า Analog Pressure Gauge
Diaphragm Seal แผ่นไดอะแฟรมซีล
อาศัยแผ่นไดอะแฟรมซีลที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง มีพื้นผิวคล้ายลูกคลื่น เป็นตัวนำส่งแรงดันไปยังเกจวัด ซึ่งการทำงานแบบใช้ Diaphragm Seal นี้ จำเป็นต้องมีการซีลน้ำมันกลีเซอรีนเข้าไปยังอุปกรณ์ เพื่อนำอากาศในตัวอุปกรณ์ออกมาให้หมด
Sensor เซนเซอร์ดิจิทัล
การทำงานแบบใช้เซนเซอร์ มักพบใน Digital Pressure Gauge เป็นการทำงานที่อาศัยเซนเซอร์แปลงแรงดันเพื่อแสดงค่าออกมาเป็นตัวเลขดิจิทัล
เติมน้ำมันเกจวัดแรงดันเพื่ออะไร ?
การเติมน้ำมันในเกจวัดแรงดันมีข้อดีดังนี้
- ป้องกันกลไกลภายในเกจวัดเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน
- ลดการสั่นของเข็มอ่านค่าความดันทำให้อ่านค่าง่ายขึ้น
- ลดการมัวของหน้าปัดเกจวัด
- ยึดอายุของเกจวัดให้ใช้งานได้นานขึ้น
วิดีโอเปรียบเทียบความต่างระหว่างเกจวัดแรงดันแบบแห้ง VS แบบเติมน้ำมัน
วิดีโอวิธีเติมน้ำมันกลีเซอรีนให้กับเกจวัดแรงดัน
สินค้าเกจวัดแรงดันทั้งหมด
เกจวัดแรงดันทั้งหมดที่ radiusglobal จำหน่ายจากแบรนด์ OCTA ที่ได้ผลิตเกจวัดแรงดัน ที่มีหน่วยแรงดันถึง 3 หน่วย ได้แก่ bar, kg/cm2 และ psi มาไว้ในตัวเดียว คลิกที่นี่เพื่อเข้าหน้าสินค้า
-
Electric Contact Pressure Gauge 1713 เกจวัดแรงดันส่งสัญญาณ
-
เกจวัดแรงดันดิจิตอล Pressure Gauge Digital GD1010J OCTA
-
เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge OCTA รุ่น GB100
-
เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge OCTA รุ่น GS100
-
เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge OCTA รุ่น GBK100
-
เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge ยี่ห้อ OCTA รุ่น GSK63
-
เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge ยี่ห้อ OCTA รุ่น GBK63
-
เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge ยี่ห้อ OCTA รุ่น GS63
-
เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge ยี่ห้อ OCTA รุ่น GB63
ดูราคา Pressure Gauge เทียบราคาเกจวัดแรงดัน
เลือกเกจวัดแรงดันยี่ห้อไหนดี สามารถคลิกเพื่อดูราคา Pressure Gauge ได้ที่นี่
ต้องการสั่งซื้อเกจวัดแรงดัน OCTA
สั่งซื้อพร้อมชำระเงิน คลิกเพื่อซื้อ Pressure Gauge
สอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนสั่งซื้อเพิ่มเพื่อน @radiusglobal ได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
เกจวัดแรงดัน มีกี่ประเภท ? เข้าใจใน 5 นาที How many type of Pressure Gauge