เกจวัดแรงดัน มีกี่ประเภท อันที่จริงแล้ว Pressure Gauge มีอยู่เพียง 2 ประเภทเท่านั้นคือเกจวัดแรงดันแบบเข็มหรือบางครั้งเรียกว่าเพรชเชอร์เกจแบบบูร์ดอง(Pressure Gauge Bourdon)และเกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล(Pressure Gauge Digital) ส่วนด้านอื่นนอกเหนือจากนี้คือการเลือกลักษณะของเกจซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยตามการใช้งานของผู้ใช้ โดยในบทความนี้เราจะมาเลือกเกจวัดแรงดันกันเลย
เกจวัดแรงดันแบบเข็ม(บูร์ดอง) หรือแบบดิจิตอล(Digital)
ประเภทเกจวัดแรงดันอันดับแรกถูกแบ่งด้วยเกจวัดแรงดันแบบเข็มและแบบดิจิตอล ความแตกต่างของทั้ง 2 ประเภทนี้ที่เห็นได้ชัดก็คือ ราคา แน่นอนเกจแบบเข็มต้องถูกกว่าดิจิตอลเพราะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า แต่ก็แลกมากับการที่เกจวัดแรงดันแบบบูร์ดองนี้มีลักษณะการทำงานเป็นรอบต่างกับ Pressure Gauge Digital ที่สามารถวัดค่าอ่านออกมาเป็นตัวเล็กได้ทันทีโดยไม่ต้องรอรอบใด ๆ อ่านเพิ่มเติม Pressure Gauge Digital ต่างกับเกจวัดแรงดันปกติอย่างไร คลิกเลย
เกจวัดแรงดันแบบเข็ม
- แบ่งประเภทตามย่านการวัด
- Normal Pressure Gauge
- คือ เกจวัดแรงดันแบบปกติทั่วไป ที่มีย่านการวัดตั้งแต่ 0 ถึง ค่าที่เป็นบวก เช่น 0 – 1 bar 0 – 60 bar 0 – 600 bar เป็นต้น ตัวอย่างหน้าปัดของเกจวัดแรงดันแบบ Normal Pressure Gauge
- ภาพที่ 1 ตัวอย่าง Normal Pressure Gauge
- Vacuum Pressure Gauge
- คือ เกจวัดแรงดูดหรือภาษาช่างมักเรียกว่าแวคคั่มเกจ เกจแวคคั่ม ใช้สำหรับวัดแรงดูดเท่านั้นโดยหน่วยวัดนิยมใช้ bar และ mmHg (มิลลิเมตรปรอท) ย่านการวัด Vacuum Pressure Gauge คือ -1 to 0 bar หรือ -760 to 0 mmHg
- งานที่มักถูกนำไปใช้ได้แก่ งานแอร์ เติมน้ำยาแอร์บ้าน แอร์รถ หรืองานที่เกี่ยวกับทันตกรรมก็ใช้ Vacuum Pressure Gauge เช่นกัน
- ภาพที่ 2 ตัวอย่าง Vacuum Pressure Gauge
- Compound Pressure Gauge
- คือ เกจวัดแบบผสม เป็นการวัดแรงดูดไปจนถึงวัดแรงดัน ย่านการวัดจะเป็นช่วง ติดลบ -1 ถึง ค่าบวก ยกตัวอย่างเช่น -1 to 3 bar, -1 t0 5 bar, -1 to 9 bar เป็นต้น
- ภาพที่ 3 ตัวอย่าง Compound Pressure Gauge
- Normal Pressure Gauge
- แบ่งประเภทตามจุดเชื่อมต่อ (Connection)
- คือการแบ่งประเภทตามจุดเชื่อมต่อ โดยจะมีจุดเชื่อม 2 อยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ ออกข้างหรือบางคนเรียกออกล่างและแบบออกหลัง
- เกจวัดแรงดัน ออกล่าง มีเกลียวออกด้านล่างหน้าปัด พบได้ในงานทั่วไป นิยมใช้มากที่สุด
- เกจวัดแรงดัน ออกหลัง มีเกลียวออกด้านหลังหน้าปัด พบได้ในงานที่ติดตั้งเกจวัดแรงดันกับเครื่องจัก บางครั้งอาจมีการติดปีกเพื่อยึดเครื่องมือวัดเข้ากับเครื่องจักรอีกด้วย
-
- เกจวัดแรงดัน ออกล่าง มีเกลียวออกด้านล่างหน้าปัด พบได้ในงานทั่วไป นิยมใช้มากที่สุด
- คือการแบ่งประเภทตามจุดเชื่อมต่อ โดยจะมีจุดเชื่อม 2 อยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ ออกข้างหรือบางคนเรียกออกล่างและแบบออกหลัง
เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย สำหรับบทความนี้หวังว่าเพื่อน ๆ จะพอเข้าใจประเภทของเกจวัดแรงดันได้แล้ว หากมีข้อสงสัยหรือต้องการหาเกจวัดแรงดันดี ๆ สักตัว ก็อย่าลืมเกจวัดแรงดัน OCTA น้า ใช้ตรวจวัดได้แม่นยำถูกใจเพื่อน ๆ แน่นอน
หาเกจวัดแรงดันแอดเพื่อนเรามาเล้ย
เกจวัดแรงดัน คืออะไร ?
#เกจวัดแรงดันแอร์ #เกจวัดแรงดันไฮดรอลิค #เกจวัดแรงดัน ภาษาอังกฤษ #เกจวดแรงดนลม pressure gauge #เกจวดแรงดน pressure gauge