บริษัท เรเดียส โกลบอล จำกัด info@radiusglobal.co.th , Tel : 02-041-5092 , 095-296-2968

ข้อมูลสินค้าและบทความ เกี่ยวกับเครื่องมือวัด , เกจวัดแรงดัน , ไดอะแฟรมซีล , วาล์ว ฯลฯ

Category: Pressure Gauge

ข้อมูลเครื่องมือวัดความดันประเภท Pressure Gauge อธิบายความหมายและหลักการทำงานของเกจวัดแรงดันแต่ละประเภท ทั้ง Digital, Bourdon หรือแบบ Diaphragm โดย Pressure Gaugeสามารถนำไปใช้งานกับของไหลได้หลายประเภท ทั้งงาน น้ำ ลม แอร์ หรือ แก๊ส ประยุกต์ใช้ได้ทั้งภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน ซึ่งจากการสำรวจ มีผู้ใช้นำเกจไปวัดแรงดันของเครื่องไฮดรอลิค ปั๊มติ๊ก ถังดับเพลิง ยางรถยนต์

เรเดียส โกลบอล เราจำหน่าย Pressure Gauge ยี่ห้อ OCTA  ครอบคลุมย่านการวัดตั้งแต่ 1 บาร์, 10bar, 250 bar หรือ 300psi ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มและทุกการใช้งาน

Pressure Gauge คืออะไร?

Pressure Gauge แปลว่า เกจวัดแรงดัน คือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและแสดงค่าความดันของของไหล (ของเหลวหรือก๊าซ) ในระบบปิด โดยจะแสดงค่าความดันให้ผู้ใช้สามารถอ่านค่าแรงดันด้วยภาพ ซึ่งมักจะแสดงเป็นหน่วย psi หรือ bar ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบและควบคุมระดับแรงดันภายในพารามิเตอร์ที่ต้องการได้

pressure gauge list

ประเภทของ Pressure Gauge

โดยปกติ Pressure Range สามารถแบ่งประเภทได้ 2 แบบตามย่านการวัดและวิธีการทำงานโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประเภทตามย่านการวัด

เป็นการแบ่งประเภทตามย่านการวัด ตั้งแต่ Vacuum Pressure ถึง Normal Pressure หรือสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ประเภทเกจวัดแรงดันตามย่านการวัด

1. Normal Pressure Gauge

เป็น Pressure Gauge ที่มีย่านการวัด ตั้งแต่ 0 bar ขึ้นไป นิยมใช้ในงานวัดแรงดัน น้ำ, ลม, ก๊าซ เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุด เช่น 0-1 bar, 0-10 bar, 0-250 bar หรือ 0-300 psi เป็นต้น

2. Vacuum Pressure Gauge

Vacuum หรือ แวคคั่มเกจ เป็น Gauge ที่มีย่านการวัดอยู่ในช่วงสูญญากาศเท่านั้น ซึ่งก็คือตั้งแต่ -1 bar ถึง 0 bar นั่นเอง มักพบในงานที่ต้องใช้การวัดแรงดูด เช่น ทันตกรรม, ระบบปรับอากาศ เป็นต้น

3. Compound Pressure Gauge

Compound หรือคอมปาวด์เกจ คือเกจที่มีย่านการวัดผสมกันระหว่าง Normal และ Vacuum ย่านการวัดที่พบได้บ่อย ได้แก่ -1 ถึง 3 bar, -1 ถึง 5 bar และ -1 ถึง 9 bar

ประเภทตามการทำงาน

1. Analog Pressure Gauge

เป็นประเภทเริ่มต้นของ Pressure Gauge โดยภายในเกจจะมีบูร์ดองด้านในเป็นตัวกลางในการจับค่าแรงดันที่ลดหรือเพิ่มขึ้น เหมาะใช้งานกับการวัดความดันที่เป็นช่วงกว้าง ๆ และไม่ต้องการรายละเอียดมาก เป็นที่นิยมเพราะราคาถูกกว่าประเภทอื่น ๆ

เกจวัดแรงดัน_pressure gauge_ออกหลัง_nuovafima_wika_gb63_octa_เกจวัดแรงดันลมW_GB63_Range_10_alt

2. Diaphragm Pressure Gauge

เกจประเภทนี้ใช้หลักการของแผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวกลางในการส่งแรงดันมาที่หน้าปัดของเกจวัด โดยใช้อุปกรณ์เสริมอีกตัวที่เรารู้จักกันในชื่อ Diaphragm Seals ติดตั้งระหว่างไลน์ท่อกับเกจวัดแรงดัน ทั้งนี้ Diaphragm Seals ยังสามารถนำไปติดตั้งกับเครื่องมือวัดความดัน ประเภทอื่น ๆ เช่น Pressure Sensor และ Switch ได้อีกด้วย

เพรสเชอร์เกจ pressure gauge diaphragm seal ds flange octa front

3. Digital Pressure Gauge

Pressure Gauge Digital หรือเกจวัดแรงดันดิจิตอล คือเกจที่แสดงค่าเป็นตัวเลขดิจิทัล ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าเป็นตัวเลขได้ทันทีโดยไม่ต้องประมวลผ่านเข็มแบบประเภทอนาล็อก มักนิยมใช้ในงานที่ต้องการความละเอียดสูงและจำเป็นต้องอ่านค่าถึงหลักจุดทศนิยม โดยรุ่นที่เราแนะนำคือ GD1010J

เกจวัดแรงดัน_pressure-gauge-digital_wika_เกจวัดแรงดันดิจิตอล_alt

หลักการทำงานของ Pressure Gauge

หลักการทำงานแตกต่างกันตามประเภทของ Pressure Gauge โดยแต่ละประเภทนั้นมีหลักการทำงานดังนี้

  • Analog Pressure Gauge: ทำงานบนหลักการของการยืดและหดแบบยืดหยุ่นของท่อโค้ง(Bourdon) ภายใน เมื่อมีแรงดันเข้ามาที่ท่อบูร์ดอง จะเกิดการยืดและหด ส่งผลให้เข็ม(Pointer) ขยับไปตามค่าแรงดันที่เปลี่ยนแปลง
  • Diaphragm Pressure Gauge: ใช้หลักการทำงานคล้ายกับ Analog Pressure Gauge แต่จะมี Diaphragm Seals ซึ่งมีแผ่นไดอะแฟรมที่มีพื้นผิวคล้ายลูกคลื่น เป็นตัวกลางระหว่างของไหลและตัวเกจวัดแรงดัน
  • Digital Pressure Gauge: เกจวัดแรงดันดิจิตอลใช้หลักการของเซนเซอร์ภายใน แปลงสัญญาณแรงดันที่เป็นอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัลในรูปแบบตัวเลข เพื่อไปแสดงผลบนหน้าจอ(Display)

ตัวเลือกเพิ่มเติม

ในการเลือก Pressure Gauge ท่านสามารถเลือกฟังก์ชันเพิ่มเติมสำหรับเกจได้ดังนี้

เติมน้ำมัน(Fillable)

สามารถเลือกเติมน้ำมันกลีเซอรีนลงใน Pressure Gauge ได้ จะช่วยยืดอายุการใช้งาน, ลดอุณหภูมิ และทำให้อ่านค่าแรงดันได้ง่ายยิ่งขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง Pressure Gauge เติมน้ำมันและไม่เติมน้ำมัน

เกจแบบส่งสัญญาณไฟฟ้า(Electric Contact Pressure Gauge)

Gauge ชนิดนี้มีฟังก์ชันพิเศษ คือการที่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าท หรือที่เรียกว่าคอนแทค ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพื่อควบคุมการตัดต่อแรงดัน เพื่อแสดงผล โดยรุ่นของเกจชนิดนี้ได้แก่ OCTA 1713

การใช้งานเกจวัดแรงดันกับงานประเภทต่าง ๆ

เกจวัดแรงดันสามารถนำไปใช้งานกับหลายอุตสาหกรรม นั่นหมายความว่ามีการนำเกจวัดแรงดันไปใช้กับงานหรือของไหลหลากหลายชนิด เช่น น้ำ, ลม, ไฮดรอลิค, แอร์, แก๊ส, ปั๊มติ๊ก, ถังลม, ถังดับเพลิง หรือ วัดลมยางรถยนต์ เป็นต้น

ยี่ห้อเกจวัดแรงดัน

ในตลาดมียี่ห้อเกจวัดแรงดันอยู่มากกว่า 10 ยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น WIKA, OCTA, Nuovafima, IK, Darhor โดยสามารถดูเกจวัดแรงดันยอดนิยมได้ที่บทความด้านล่าง

สำรวจยี่ห้อเกจวัดแรงดันยอดนิยมในประเทศไทย

สำรวจราคา Pressure Gauge

หลายท่านอาจกำลังมองเกจวัดแรงดัน แต่อาจยังไม่ทราบราคาตลาดของ Pressure Gauge เราได้ทำการสำรวจราคาของเครื่องมือวัดความดันชนิดนี้โดยเป็นราคากลางของเกจคุณภาพระดับกลาง คลิกที่นี่


Pressure Gauge ทั้งหมด

บทความเกี่ยวกับ Pressure Gauge